27 พ.ย. ยุงก้นปล่อง
ยุงก้นปล่อง
ยุงก้นปล่อง ออกหากินเวลากลางคืน ไม่ค่อยเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมใดๆหากมีลมแรง ยุงก้นปล่องถูกดึงดูดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ แสง และกลิ่น เป็นพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย
ลักษณะทั่วไป
- มีความยาว 3-4.5 มิลลิเมตร
- เมื่อเกาะพัก ส่วนท้องจะพุ่งขึ้น ไม่ขนานกับพื้น
- มีแถบสีดำสลับขาวบนปีก
พฤติกรรมยุงก้นปล่อง
- อยู่ตามแหล่งน้ำสะอาด
- ออกหากินเวลากลางคืน
วงจรชีวิต
- หลังจากที่ดูดเลือดเต็มที่ ยุงก้นปล่องตัวเมียสามารถวางไข่ 50-200 ฟอง
- ตัวเมียมีอายุไม่เกินหนึ่งเดือน
- ในสภาวะอบอุ่น ไข่ใช้เวลาเพียง 2 วันในการฟัก
- อาศัยอยู่ในน้ำตลอดช่วงชีวิตจนถึงช่วงก่อนเป็นตัวเต็มวัย
- หากสภาพอากาศร้อน การเจริญเติบโตจากไข่ไปเป็นตัวเต็มวัย ใช้เวลาเพียง 10-14 วัน
สัญญาณเมื่อยุงก้นปล่องระบาด
- ได้ยินเสียงยุงบินใกล้ๆตัว
- พบผื่นแดงขึ้นตามตัว
- สัญญาณที่ชัดเจนคือถูกยุงกัดทำให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง
- พบลูกน้ำในแหล่งน้ำขัง
ผลิตภัณฑ์แนะนำ